พรีวิว DELL PowerEdge XC Series Nutanix



สวัสดีครับ วันนี้เราได้มีโอกาสมาพดถึง DELL PowerEdge XC Series Nutanix กัน ซึ่งเป็น HCI appliances ของ DELL ที่จับกับ Software ของ Nutanix กลายเป็น Hyper-Converged หากใครยังไม่รู้จัก Hyper-Converged แนะนำให้อ่านพื้นเติมในบทความ Hyper-Converged ของเรา

Hyper-Converged เหมาะกับใคร

เอาประเด็นร้อนมาก่อนเลย คนที่คิดจะไป Hyper-Converged คือ คนที่มีระบบที่เติบโตทั้ง CPU , Memory , Disk ไปพร้อมๆกัน เพราะ Hyper-Converged เวลา Upgrade เป็นการเพิ่มทั้ง Server เข้าไปในระบบ การเพิ่มทั้ง Server จึงได้ทั้ง CPU , Memory , Disk ไปพร้อมๆกัน ดังนั้นระบบที่ต้องการ Disk มากๆบนระบบเดิม จึงไม่เหมาะ การใช้ Server ต่อกับ Storage จึงเหมาะกว่า หรือระบบที่ต้องการเติม Memory ไปเรื่อยๆบนระบบเดิม ก็ไม่เหมาะเช่นกัน เพราะการเอา Server ต่อ Storage แล้วเติม Memory บนแต่ละเครื่องที่ VM ใช้งาน Memory มากๆ ก็ง่ายกว่าเติมบน Hyper-Converged หรือระบบที่ใหญ่มากๆ ต้องการพลัง CPU เยอะๆ ก็ไม่เหมาะ เพราะไป Server รุ่นใหญ่ๆ ระดับ 4CPU 8CPU ก็จะดีกว่า เพราะ Hyper-Converged เป็นการรันระบบบน Virtual Machine ดังน้นก็จะต้องแบ่งทั้ง CPU , Ram , Disk มาใช้งานร่วมกัน ดังนั้นหาก VM เรากิน CPU มากก็ไม่มีความจำเป็นต้องรันบน VM ที่ต้องแบ่งให้ใคร

รู้จักกับ Nutanix Technology

Nutanix นั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นแบรนด์ที่นำ Concept การ Design Data Center ของ Google และพัฒนาออก Platform ของตัวเองขึ้นมา จนทำให้ทั้งโลกได้รับรู้เรื่องราวของ Hyper-Converged มากขึ้น Core หลักของ Nutanix ประกอบไปด้วย Nutanix AHX เป็น Hyper-visor และ Nutanix Acropolis เป็นตัวจัดการ VM และมี Nutanix prism เป็น Deskboard monitor ที่ทำให้เราดูได้ว่า CPU , Memory , IOPs เราใช้งานมากน้อยแค่ไหน การทำงานของ Nutanix ก็คือ การมี Nutanix CVM ติดตั้งไปบน Hyper-visor เพื่อจัดการ Internal Disk ทุก Server จับมา Pool รวมกัน แล้วโยนกลับมาให้ Server เป็น iSCSI สิ่งนี้เรียกกันเป็นทางการว่า Software Defined-Storage ซึงก็มีคู่แข่งเป็นพวก VMWare vSAN , VSA และหลายๆค่าย แต่ Nutanix มีความโด่งดังมาก ด้วยเหตุที่ว่าเป็นค่ายเดียว ที่ระบบสามารถรู้ว่า VM ของเรานั้นอยู่บนเครื่องไหน ก็เน้นไปใช้ Disk ของ Internal มากกว่า เพื่อลดการวิ่งของข้อมูลบน Network นั้นเอง แล้วก็อาศัย Cache SSD เข้าช่วย ซึ่งทุกค่ายก็ทำเช่นเดียวกัน เพียงแต่ข้อเสียของ Nutanix ที่ทำแบบนี้คือ หากมี Node ตายไปก็จะ Shock ไประยะนึงเพราะต้องไป Copy ข้อมูลจาก Disk เครื่องอื่น กลับมายังเครื่องตัวเอง ซึ่งจริงๆแล้วการที่ Node พังไป ก็ต้องไป Restart VM บน Server ตัวอื่นอยู่ดีนั้นแหละ

ทำความรู้จักกับ Nutanix Hardware

หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับ Nutanix ว่ามี Hardware ด้วยมาเป็น Box ของเขา จริงๆ Hardware Nutanix นั้นก็ OEM มาจาก SuperMicro ซึ่งเป็นการเอา 2U Rack Server แบ่งออกเป็น 4 Server คล้ายๆกับ Blade โดย Technology นี้ก็มีอยู่ในหลายๆแบรนด์ ทั้ง DELL เองบน FX2 หรือ C3620 ก็ตาม แต่ที่ผ่านมาก็ถือว่าเป็นจุดอ่อนเพราะอาจจะมีคำถามเรื่องการเคลม Spare part รวมไปถึงสิ่งต่างๆ และว่าไส้ในคืออะไร ทำให้ Nutanix ก็ผันตัวเองมาเป็น Software Vendor ในที่สุด แทนการเป็น Hardware appliance เหมือนแต่ก่อน ก็จับมือกับหลายๆค่าย นั้นคือ DELL เป็นหนึ่งในนั้น

แล้วใช้ Internal Disk แทน Storage ช้าไหม

ตอบคือ ช้ากว่าใช้ Storage ปรกติ จึงต้องมีตัวช่วยด้วยการเอา SSD มาช่วยเป็น Cache และใช้ Network ระดับ 10GbE มาช่วยอีกแรง เพื่อให้วิ่งระหว่าง Server ได้เร็วขึ้นนั้นเอง

แล้วทำไมต้อง DELL PowerEdge XC Series

>เมื่อผนวกกับข้อดีของ Nutanix Software รวมกันกับ DELL Hardware และทีม Support ที่ได้รับการยอมรับของ DELL จึงเกิด DELL PowerEdge XC Series ขึ้น คือการลง Nutanix Software มาจากโรงงาน ตั้งแต่ Hyper-visor รวมไปถึง Acropolis CVM เองก็ตาม โดย Config ก็มีให้เลือกหลายหลายตามขนาดที่เราต้องการ ไม่ว่าจะด้วยขนาดของ Disk เองหากต้องการมากก็มี XC730XD ที่ใส่ Disk ได้ทั้ง 2.5 , 3.5 นิ้ว รวมไปถึงหากใช้ Disk ไม่มาก หากมี XC630 ถ้างบประมาณน้อยก็ XC430 เป็นต้น หรือพื้นที่น้อยก็ยังมี XC6320 ซึ่งก็ทำให้การตอบโจทย์กับ Nutanix Solution นั้นได้มากกว่า Nutanix Hardware เองที่จำกัดเพียง 2U 4 Node และได้ Disk ที่จำกัด Memory ที่น้อยกว่า

DELL PowerEdge XC นั้นมีด้วยกัน 7 Model ด้วยกัน

  1. DELL PowerEdge XC630-10 : ไส้ในก็คือ R630 ขนาด 1U ที่ Config พื้นฐานต้องเริ่ม 3 Server
  2. DELL PowerEdge XC730XD-12 : ไส้ในก็คือ R730XD ขนาด 2U ที่ Config พื้นฐานต้องเริ่ม 3 Server
  3. DELL PowerEdge XC730XD-24 : ไส้ในก็คือ R730XD ขนาด 2U ที่ Config พื้นฐานต้องเริ่ม 3 Server
  4. DELL PowerEdge XC730XD-12C : ไส้ในก็คือ R730XD ขนาด 2U ที่ Config พื้นฐานต้องเริ่ม 3 Server
  5. DELL PowerEdge XC730-16G : ไส้ในก็คือ R730 ขนาด 2U ที่ Config พื้นฐานต้องเริ่ม 3 Server
  6. DELL PowerEdge XC430-4 : ไส้ในก็คือ R430 ขนาด 1U ที่ Config พื้นฐานต้องเริ่ม 3 Server
  7. DELL PowerEdge XC6320-6 : ไส้ในก็คือ C6320 ขนาด 2U ที่ Config ที่ใส่ได้ 4 Node ใน 2U
ตัวเลขหลัง XC คือรุ่นของ PowerEdge ส่วนตัวเลขต่อท้าย -10 -12 คือ Disk ที่ใส่ได้ หาก 12 ก็ 3.5 นิ้ว หาก 24 ก็ 2.5 นิ้ว

ต่อการใช้งาน XC นั้น จะสามารถเลือก Hyper-visor ได้ตามเราต้องการ ไม่ว่าจะของ Nutanix AHV เอง หรือ VMware ESXi ก็ได้ หรือแม้กระทั้ง Hyper-V ก็ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะ Pre-install มาจากโรงงานแล้วแต่เลือก Config มาให ส่วน License ของ Nutanix ก็มีตั้งแต่ Starter , Pro หรือ Ultimate

สุดท้ายถ้าสนใจ ราคามันประมาณเท่าไร

ก็ต้องบอกว่า Hyper-Converged ไม่ใช่ของที่มีราคาถูก เรียกว่าเอาสะดวก จัดการง่าย ประหยัดในระยะยาว ถ้าเทียบหากต้องจ้าง Engineer 1 คนเงินเดือน 40,000 ดูแลก็ปีละ 5 แสน หรือ หากต้องจ้างคน Implement Hyper-Converged ขึ้นมาก็ต้องอาศัยความชำนาญ และต้องดูว่าได้ตาม best practice หรือไม่ อาจจะมารับรู้อีกทีตอนใช้ไปเกินปีแล้ว แต่การซื้อสำเร็จรูป เรียกได้ว่าชัดเจนว่าใช้งานได้แน่ best practice แน่ Support โดยทีมมืออาชีพแน่

สำหรับเริ่มต้นก็ต้องมีงบประมาณ 2 ล้านโดยประมาณสำหรับการเริ่มต้น 3 node แรก แล้วแต่ Config ของตัวระบบด้วย ทั้งนี้อยู่ที่แต่ละองค์กรจะพิจารณาล่ะว่าจะไปแบบไหน แบบถูกซื้อ Server ทำเอง แบบแพงสำเร็จมาจากโรงงาน เรียกว่าเจ็บแต่จบ รวดเร็ว พร้อมใช้ บางทีเชิงธุรกิจการลงทุนมันก็มีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มิใช่แค่ถูกอย่างเดียว เพราะธุรกิจ เงินเดินเป็นหลักนาที ชั่วโมง การได้ระบบที่เร็ว ตอบสนอง ตอบโจทย์

สนใจให้ทีมงาน Present ที่บริษัท หรือ White Paper Submit ได้เลยด้านล่าง
ชื่อติดต่อ
เบอร์โทรติดต่อ
Log

Out

?

Are you sure you want to log out?

Press No if youwant to continue work. Press Yes to logout current user.