สร้าง Cloud ใช้เองด้วย Nutanix Cloud Platform
กำหนดแนวคิดใหม่โดย Google
Google นับว่าเป็นองค์กรแรกๆ ที่ออกมาเปิดเผย Infrastructure ของตัวเอง ว่าจริงๆแล้วระบบที่มี Server + Storage นั้นไม่ Work สำหรับเขา เขาต้องการอะไรที่ Scale-out ออกไปได้เรื่อยๆ จึงเปิดเผยการนำ Server หลายๆตัวมาต่อกัน แล้วนำ Internal Disk ทุกเครื่องมา Pool กัน ทำให้ทุกๆค่ายก็เริ่มวิ่งตามสิ่งที่ Google ทำขึ้นทีม Engineer ที่ทำระบบให้ Google ก็ออกมาตั้งบริษัทที่ชื่อว่า Nutanix แล้วทำ Software Defined Data-Center เพื่อนำสิ่งที่ Google คิด Google ออกมาใช้งานทำให้ Nutanix ก็เลยโด่งดังมาก แล้วค่ายอื่นๆก็เริ่มเข้ามาทำแบบเดียวกัน ก็เรียกกันว่า Hyper-Converged
จาก Server สู่ Cloud เกิดอะไรขึ้น
พอระบบของลูกค้าใหญ่ขึ้น การขึ้นระบบที่เป็น Server + Storage + Software นั้นเริ่มมีมูลค่าที่สูงขึ้น ยิ่งกว่าความแพงคือการจ้าง IT Engineer ที่แพงขึ้นด้วยในการดูแลระบบ ไม่ว่าจะดูแลระบบ Server , Network รวมไปถึง Storage เอง ยังไม่รวม Vmware เอง การจะดูพวกนี้ได้ย่อมใช้ Engineer ที่มีความชำนาญ ก็ค่าจ้าง Engineer พวกนี้อาจจะโดนปีนึงเป็นล้านได้ แบบนี้แหละ ทำให้ Cloud เริ่มเกิดเพราะคนมองว่าไม่ต้องสนใจว่าระบบอะไร เพราะกำหนดทุกคนต้องการ Output คือเอาระบบตัวเองไปวาง แล้วก็รันแต่คำถามที่มักกลับมา คือ Security มากกว่า แต่พอจะกลับมาดูแลเองก็ไม่ใช่ง่ายเช่นกัน Nutanix จึง Position ตัวเองว่าเขาคือ Private-Cloud Platform คือการที่ไม่ต้องพึ่ง Engineer มาก ไม่ต้องดูแลรักษามาก เริ่มต้นได้ด้วยเล็กๆเพียง 3 เครื่อง และสามารถ Scale-out ออกได้ง่ายๆ แบบไม่ยุ่งยาก
Nutanix ทำไมต้องเริ่มต้น 3 Node
สมัยเดิม การทำ HA เราจะต้องมี 2 Server + 1 Storage แล้วให้ Server สองตัวนั้นสามารถทำงานแทนกันได้ แต่ถ้าระบบทุกอย่างรันอย่างไหล่ลื่นมันก็คงดี แต่เกิดวันดีคืนดี Network ล่ม นั้นแหละปัญหาสมัยนั้น Storage จะเป็นเสมือนกรรมการตัดสินว่าตกลงใครตายกันแน่ ระหว่าง Server 1 หรือ 2 แล้วก็ให้อีกตัวนึงทำงานแทนแต่สำหรับการทำ Software Defined คือไม่มี Storage แล้วนั้น การมี Server 2 ตัวทางเทคนิคนั้นมันสามารถทำได้จริง แต่ปัญหาคือ หาก Network ตายใครจะเป็นกรรมการ นั้นคือ Witness สิ่งที่ทาง Microsoft เองก็ใช้ คือ ตัวบอกว่าตัวไหนตาย เพราะถ้าต่างคนต่างเคลมว่าเพื่อนตายก็จะพยายามเขียนข้อมูล หรือย้ายงานมาหาตัวเอง ก็ทำให้ระบบ Crash ไป ดังนั้นการมี 3 node ก็เสมือนการที่มี Node ที่เป็นกรรมการคอยบอกว่าใครตายนั้นเอง
ความง่ายในการ Update Nutanix เสมือนอัพ iOS
Nutanix มองตัวเองเป็น Cloud ดังนั้นจึง Design ทุกอย่างมาบนความง่ายเป็นหลัก หาก Server เราต่อ Internet ได้ก็จะทำการ Check Software Update version ให้ ซึงก็จะบอกถึง Version ปัจจุบัน หากไม่ต่อ Internet ก็สามารถไป Download Software Version มา Browse เพื่อ Update ทั้งระบบได้ เพื่อให้ได้ฟีเจอร์ใหม่ แม้จะบน Hardware เดิมที่ใช้งานอยู่ก็ตาม ดงนั้นก็จะช่วยการเข้ากันกับ Hardware ตัวใหม่ๆที่เรา Scale-out ไปได้เรื่อยๆNutanix เหมาะกับใคร
ชัดเจน เหมาะกับองค์กรที่มี IT จำนวนน้อย หรือต้องการมีน้อย แต่ไม่ใช่ไม่มี IT เลยเพราะยังคงต้องจัดการ Monitor พวก VM และโหลดต่างๆ การติดตั้งเพียง Set ค่า IP Address และค่าต่างๆเล็กๆน้อยๆ ดังนั้นก็สามารถลด Engineer ลงได้พอสมควรเหมาะสำหรับคนที่ต้องการทำ Private Cloud โดยยังคงไว้ที่ Office ตัวเอง แล้วหากต้องการความปลอดภัยของข้อมูลทาง Nutanix เองก็มี Tool ที่ทำให้เราสามารถ Backup Data ของเราไปไว้ใน Cloud ได้ ไม่ว่าจะ Amazone AWS หรือ Microsoft Azure ก็ได้เช่นกัน
เริ่มต้นง่ายๆ ขยายก็ง่าย เพราะแค่เติม Node เข้าไปใหม่ ก็สามารถไปรวมกับระบบเดิม เพื่อขยายพื้นที่ หรือ Resource ออก เพราะทาง Nutanix มี Tool มาให้หมดในการ Monitor ว่า Hardware เราเหลือเพียงพอสำหรับรันงานหรือไม่
Nutanix ให้ Performance ที่ดีกว่า ด้วยระบบที่สามารถรับรู้ว่า VM รันอยู่ที่ Node ไหน ก็จะดึง Data จาก Disk ใน Node นั้นส่วน Node อื่นแค่เก็บสำรองกรณี Node หลักเสีย ซึ่งก็จะทำให้ประสิทธิภาพการใช้งาน VM เทียบเท่าการันบน Internal Disk เลยทีเดียว
ใช้ Nutanix ยังต้องมี License VMware ไหม
Nutanix มีระบบของตังเองเรียกว่า Acropolis สามารถสั่งย้าย VM ได้ผ่าน Prism หรือย้ายอัตโนมัติเวลา Node เสียนั้นเอง ทำให้ไม่ต้องซื้อ Vmware License ไม่ต้องใช้งาน ESXi ก็จะประหยัดค่า License ส่วนนี้ไปได้ใช้ Nutanix รันระบบงานอะไรได้บ้าง
เนื่องจาก CPU ทุกวันนี้ไวมาก ทำให้เรียกได้ว่า Nutanix ครอบคลุมในทุกระบบงานก็ว่าได้ ไม่ว่าจะ ERP , SAP , Oracle ซึ่งหากงานรันได้บน Server 1 Node ก็รันได้หมด ซึ่งก็อยู่ที่ CPU เพียงพอไหม Memory เพียงพอไหม ส่วน Disk Performance ก็สามารถ Config เพื่อจะทำ All Flash ได้เช่นกันดู Nutanix VDO
ดู Nutanix Demo VDO
สนใจให้ทีมงาน Present ที่บริษัท หรือ White Paper Submit ได้เลยด้านล่าง