รีวิว HPE ProLiant DL380 Gen9
สิ่งที่ให้มาในกล่อง
กล่องก็ขนาดทั่วไปสำหรับ Rack รุ่นพวก 2CPU สิ่งที่มาพร้อมคือ สายไฟทั้งสองแบบทั้งแบบ C13/C14 และแบบ Power cord มีหน้ากากอยู่ในกล่อง รวมไปถึงราง และตัวเก็บสายไฟ เรียกได้ว่ามาครบจริงๆ ซึ่งมักจะไม่ค่อยเจอบน Rack Server ยี่ห้ออืนที่จะให้สายไฟ Power cord มาด้วย
ภายนอกด้านหน้าตัวเครื่อง
ด้านหน้าตัวเครื่องเป็นรุ่นที่ค่อนข้างทำมาครบจริงๆ ตั้งแต่ DVD-ROM และ 2USB ไว้สำหรับเสียบ keyboard ,mouse จัดหนักมี VGA ให้ด้วยเพื่อให้เสียบจอจากด้านหน้าเครื่องได้เลย รวมไปถึง LCD ที่จะบอก Status ต่างๆของเครื่อง มีปุ่ม เลื่อนซ้ายขวา และเครื่องหมายถูกสำหรับ Enter ไว้ให้ครบ หากใครเคยใช้ PowerEdge ตัวท๊อปก็จะเห็นว่าปรกติหากเครื่องเสีย หรือมีอะไรผิดปรกติ ไฟ LCD จะวิ่งตัวอักษรว่าอะไรเสีย เช่น Memory DIMM 3 เป็นต้น หรือ Log Full ก็ว่ากันไป แต่ต้องรอตัวอักษรเลื่อนๆมาอ่านนะครับ ถัดมาเราจะเห็นช่อง SD Card ตัวนี้ไว้ให้สำหรับช่างของ DELL มา fix ปัญหาต่างๆ ไม่ได้ไว้ใส่ Hypervisor นะครับ แล้วก็ EST ก็เอาไว้สำหรับระบุ Service tag เวลาเคลมก็ดึงออกได้เลยจากหน้าเครื่อง หรือแปะ License ก็ได้ ส่วน Disk ด้านหน้าก็จะเห็นว่ารองรับ 8 ลูกชัดเจน ไม่มี Tray ให้นะครับเหมือนกนทุกยี่ห้อ ส่วนตัว Disk ก็มีไฟ Status 2 ดวงที่จะเห็น Status ว่าเสียหรือดีอยู่ หรือ Sync Data อยู่ครับ
ภายนอกด้านหลังตัวเครื่อง
มาด้วย 2 Powersupply ขนาด 495 watt ครับ ถัดมาก็เป็น LAN 1Gbps จำนวน 4 Port แยกออกมาจาก iDRAC ที่เป็นตัว Remote Management ตัวนี้จะให้ License มาครบแบบ iDRAC Enterprise ที่ทำได้ระดับ Remote KVM ไม่ต้องซื้อเพิ่ม แล้วก็มี USB 2 Port เสียว่าไม่ได้ให้ USB 3.0 แฮะ แต่ก็มี Serial + VGA มาให้ครบไม่ต้องซื้อ Serial เพิ่ม
ฝาเครื่อง
ฝาเครื่องแกะง่ายครับ ล๊อตง่ายๆด้วยเช่นกัน จะได้เหรียญ หรือใช้ไขขวงแกะก็ได้ครับ ก็แค่หมุนไปตำแหน่ง lock กับ unlock มีคู่มือตั้งแต่บนฝาด้านนอก ที่เกี่ยวกับ Config Disk ว่ามีแบบไหนบ้าง รวมไปถึงพวกสายต่างๆไม่ว่าจะ Disk Hotplug , Powersupply hotplug พึ่งจะมาเห็นว่าตัวนี้ทำ Config Disk ระดับ 24 ลูกได้ โหดมาก 1U ใส่ Disk 24 ลูก สำหรับฝาด้านในก็เป็นคู่มือ mainboard ตำแหน่งจุดต่างๆใน board ว่ามีไว้ทำอะไรบ้าง จุดที่เป็นที่สังเกตุ ปรกติก็จะหา Internal USB ไว้ทำ Hypervisor ส่วนของ Memory ก็มีบอกว่าจะต้องใส่อย่างไร จะใส่แบบ Optimized หรือจะใส่แบบ Mirror จริงๆมันก็ใส่เหมือนกันอ่ะนะ 55555 จริงๆดูง่ายๆก็ดูตามสี ใส่สีขาวก่อน แล้วก็ใส่สีดำ แล้วก็ใส่สีเขียว หากมี 2CPU ต้องกระจาย memory นะครับ ไม่งั้นใช้งานไม่ได้ แล้วก็มีพวกวิธีการแกะใส่อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะ RAID , CPU , พัดลม ก็เรียกได้ว่าครบ มาดูข้างในกันดีกว่า
ภายในตัวเครื่อง ภาพรวม
เปิดมากับความคลังการงานสร้าง สมกับรุ่นท๊อป มีความเป็นระเบียบสูงมาก แทบจะหาสายไฟโผล่มาแทบไม่มี ชอบสุดเป็นชุด CPU ที่สองที่มีตัวครอบอย่างดี รวมไปถึงแรมชุดที่ 1 ที่มีตัวปิดแรมช่องที่ไม่ได้ใช้ให้เรียบร้อย จริงๆหลักๆผมว่ามันจะทำให้ Flow ของลมเย็นที่ดูดเข้ามาในเครื่องไม่กระจัดกระจาย เพราะมันจะไปตามทางของมัน รวมถึงฝุ่นที่มันจะไม่โผล่จนฝุ่นเข้าไปอุดตัน เพราะต้องยอมรับว่าเวลาเราไม่ใช้งาน มีฝุ่นแน่นอนยกเว้น IDC ที่ปลอดฝุ่นนะครับ
ภายในตัวเครื่อง Backplain & LCD
ช่วงบนของเครื่องจะพบการต่อสายระบบมาจาก mainboard เชือมมายัง LCD ด้านหน้าเพื่อบอก Status ต่างๆของเครื่องนั้นเอง ส่วนแผง Backplain ก็เก็ฐเป็นระเบียบซะไม่กล้ารื้อเลย 5555 แต่ก็มีมาครบครับ สำหรับ 8 ลูก มีตัวฟ้าๆ คาดว่าน่าจะดึงออกได้เพราะเปลี่ยนชุดแผง backplain แต่พวกนี้ไม่มี Option ให้เปลี่ยนเองครับ หากอยากได้แบบ 24 ลูก หรือ Config อื่นต้อง Build to Order สร้างใหม่สำหรับเราเลย
ภายในตัวเครื่อง ชุดพัดลม
ถัดมาจะเป็นชุดพัดลม ที่ค่อยล่อเลี้ยงความเย็นภายในเครื่อง มาแบบ redundant คู่ครับ หน้าหลัง เรียงกันครบ 7 คู่ ถ้าเป็นบางยี่ห้อจะโหว่ไว้สำหรับ CPU ที่สอง แต่ DELL เรียกว่าจัดเต็มมาตั้งแต่เริ่มต้นเลย ให้มาเลยว่างั้นครบ 7 คู่สำหรับรุ่นนี้นะครับ ถ้าเคยเห็น R430 จะโหล่อยู่สัก 1 ตัวได้ที่ต้องสั่งเพิ่มสำหรับ CPU ที่สอง พอดึงชุดพัดลมออกมาก็ดึงออกมาได้ง่ายครับ เผื่อว่าจะเสียแล้วต้องเปลี่ยนก็ไม่ยุ่งยากอะไร
ภายในตัวเครื่อง ฝากครอบ CPU Ram
ฝากครอบเป็นพลาสติกสีดำ มี Logo DELL สวยงามไว้ดักลมเข้าให้ตรงตามจุดที่ต้องการ และจะมีตัวครอบสำหรับ CPU 2 ที่เอียงขาดนึกว่าดูหนัง Starwar อยู่ ส่วน CPU 2 ก็มีช่องเสียบแรมสีดำๆ ที่ไม่ใช่แรมจริงนะครับ ครอบไว้เฉยๆ อย่างที่บอกน่าจะช่วยเรื่อง Flow ลมและก็เรื่องของฝุ่นที่จะไปอุดตามช่องแรมเวลาเราอัพเกรดในอนาคต ก็ทำครอบไว้อย่างดี แต่ก็จะไม่มีบอก slot ต้องดูจากคู่มือ board เอาว่าอันไหน slot ไกน ไม่ก็ดูตามสีครับ ขาว ดำ เขียว ใส่เรียงตามนี้ ส่วนข้อดี หรือไม่รู้ข้อเสียดี ของ DELL คือมีการขาย heatsink แยกต่างหากจากตัว CPU ถ้ายี่ห้ออื่น CPU จะมาพร้อม heatsink และพัดลม แต่ของ DELL ขายแยกหมด ดังนั้นก็ต้องระมัดระวังนิดนึง เพราะอาจจะเจอของสวมรอยได้ เวลาซื้อ 2CPU เพราะอาจจะซื้อ CPU Intel ที่ใส่กับเครือ่งประกอบ แล้วซื้อ heatsink มาใส่ได้ ก็จะทำให้ราคาถูกจริงๆ แต่ก็จะไม่ได้เรืองประกัน onsite 24x7 นะครับ หรือหาก dell พบว่า CPU ไม่ใช่ของเขาอาจจะงานงอกได้ แต่สำหรับสาย Build คงชอบใจ 5555 เพราะซื้อแยกได้ เลยไม่รู้จะเรียกว่าข้อดี หรือ ข้อเสียดี
ภายในตัวเครื่อง Internal USB
สำหรับ USB เราพบ 1 ช่องอยู่ข้างในครับ ก็ไว้ boot hypervisor ได้ และจะมีงานบางงานที่ต้องการ Activate License ผ่าน USB พวกกลุ่ม Software โรงงานก็มาเสียบไว้ตรงนี้ได้เช่นกัน จุดสังเกตุจะเป็นมาตัวครอบรองรับ เพื่อป้องกันเสียบ USB แล้วไปกระทบต่อตัว mainboard เผื่อบาง USB ที่เราซื้อมามันใหญ่แล้วอาจจะกระทบต่อ mainboard ได้ และยังมีส่วนของความเทพคือ IDSDM เป็น Dual Hypervisor เป็น SD Card จะต้องซื้อการ์ดมาเสียบเพิ่ม รองรับแต่ไม่ใช่ Default ต้องจัดเพิ่ม ส่วนหน้าตาของมันก็ประมาณด้านล่างครับ
ภายในตัวเครื่อง RAID Controller
RAID Controller ตัวนี้จะเป็น PERC 730 Cache 1GB เสียบมาสวยงาม จะไม่ใช่สาย SAS ที่เรามักจะเห็นเหมือนยี่ห้ออื่น แล้วก็มี Battery Backup Cache ไว้ที่ตัวมันเลยเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ส่วนใครต้องการ by pass Controller นั้นแนะนำให้ทำ Build to order ดีกว่าไม่งั้นไม่ง่ายเลย เพราะทุกอย่างจัดสรรมาอย่างเป็นระเบียบมากอยู่แล้ว เช่นต้องการ by pass SSD เข้า mainboard ตรง หรือ อาจจะซื้อ option SSD Card ที่เสียบเข้า PCI มาเพิ่มเอา
ภายในตัวเครื่อง PCI Riser
มีรองรับ 2 PCI-Riser และมีใส่มาให้แล้ว 1 Riser Card แปลงออกมาเป็น PCI-E x16 และมีการเพิ่ม Riser Card ได้อีก 2 Riser Card รวมเป็น 3 Riser เลยทีเดียว
บทสรุปของ Server
สำหรับบทสรุปของ Server ตัวนี้ สิ่งที่ชอบคือให้มาค่อนข้างครบ ไม่ว่าจะการรองรับ 8 ลูก LCD ประกัน 24x7 รวมไปถึง iDRAC Enterprise ส่วนสิ่งที่ดูจะขาดหายไปก็คงเป็น Dual SD สำหรับ Hypervisor ที่หากจะใช้ก็จะต้องซื้อเพิ่มล่ะ ถ้าเทียบกับบางยี่ห้อจะอยู่มาใน mainboard ล่ะ ไม่ต้องสัง่เพิ่ม ส่วนการจัดเรียงเครื่อง ตัว mainboard ทุกส่วนสัดถือว่าทำออกมาได้ดีทีเดียว สำหรับ Performance คงไม่ต้องพูดถึง เพราะทุกยี่ห้อใน class เดียวกันก็วัดกันที่ CPU Ram Disk เหมือนๆกันอยู่ล่ะ ความง่ายในการลงก็ไม่ใช่ประเด็นสำหรับ class นี้ การรองรับแต่ละ OS ก็มักจะรองรับหมดสำหรับ Server Class นี้ที่มีการ์ด RAID รุ่นท๊อปอยู่แล้ว
ดูราคา DELL PowerEdge R630