รีวิว DELL PowerEdge T20
สำหรับตลาด Server ตัวเล็กนั้น ถือว่าสูงสุดถ้านับ Unit Server นะครับ เพราะถือว่าในตลาดบ้านเรา SME ค่อนข้างมาก ดังนั้นการใช้ Server Tower ตัวเล็กสำหรับทำงานเล็กๆ เบาๆนั้นเยอะ ไม่ว่าจะ Active Directory (AD) , File Server ก็แข่งกับพวก NAS และก็พวก Load balance พวกนี้ก็ทำกันเยอะใช้ Software เฉพาะบน Linux บ้าง ถูกบ้างแพงบ้าง แล้วก็ทีเห็นๆก็ทำ Server บัญชี สำหรับ SME และก็มี Web Server ภายในองค์กรก็มี ส่วนใหญ๋ก็จะมาจากการใช้ PC มาก่อน ธุรกิจเริ่มเติบโต หรือ แทนเครื่องเดิมบ้าง ที่ใช้มากันแบบ 5-8 ปี เท่าที่เจอ ถือว่าใช้มายาวนานมาก
เจ้าตัว Server นี้DELL PowerEdge T20 เป็นรุ่นเล็กสุดของ DELL แบ่งออกเป็น 2 Part เดียวกันคือแบบประกัน Disk 1 ปี กับ 3 ปี แต่ตัวเครื่อง 3 ปีทั้งคู่ มาแบบประกันต่างกัน คือ Pro-Support กับแบบธรรมดา ความแตกต่างคือแบบธรรมดานั้น เวลาเสียไม่มีคนไปเปลี่ยนให้ ไม่ว่าจะ Disk เสีย Ram เสีย ก็ต้องเปลี่ยนเอง แต่ถ้า Pro-Support ก็มีคนทำให้ ราคา Disk ที่ซื้อเพิ่มราคาเท่ากัน แต่ประกันต่างกันก็ดูจาก Service Tag ของเครื่องเป็นที่ตั้งเอาว่าประกันเครื่องมาแบบไหน Disk ตามนั้น
สิ่งที่ให้มาในกล่อง
เปิดกล่องมาก็ โอ้ โล่งแท้ ไม่มีอะไรนอกจากสายไฟ กับ Paper ซองนึง ตามนั้น Keyboard , Mouse ไม่มีมาให้นะจ๊ะ ถือว่าเน้นถูก
ภายนอกด้านหน้าตัวเครื่อง
ด้านหน้าก็แบบ Clean Clean มี Logo DELL ตรงกลาง มี USB 2.0 ให้ 4 Port มีช่องเสียบหูฟัง ลำโพง เหมือน PC เลย และมาพร้อม DVD Rom ให้ 1 แัน แต่หากจะต้องใช้ Disk 4 ลูกจะต้องสละ DVD ไว้จะเล่าให้ฟังต่อไปในภายใน และก็มีปุ่มเปิดเครื่อง ฝาด้านข้างก็เปิดง่ายๆ ไม่มีกุญแจอะไรให้ซับซ้อน
ภายนอกด้านหลังตัวเครื่อง
ถือว่าเป็น Server รุ่นสุดท้ายแล้วมั่งที่ยังคงมี PS2 มาให้ แล้วก็เป็น Server รุ่นเดียวในโลก ที่ต่อได้ 3 จอ ก็มีทั้ง 1 VGA + 2 DisplayPort แนวไหมล่ะ ยังคงให้ USB 2.0 มาอีก 4+2 Port ด้านหลัง และ LAN 1 Port รวมไปถึงสายหูฟัง ทุกอย่างครบ เรียกได้ว่าคนเคยใช้ PC มาก่อนเจอ Server ตัวนี้ก็คล้ายๆกัน มีทุกอย่างแบบ PC ครบ Serial ก็มีมาด้วย
ภายในตัวเครื่อง
มาดูภายในกัน ภายในเป็นรุ่นเล็กที่ให้มาค่อนข้างครบ ชอบตรงนี้ เพราะมี Tray ใส่ Disk มาครบทั้ง 4 ลูก สังเกตุจาก Tray ฟ้าๆ แล้วก็ไม่งกสาย SATA และสายไฟ มาครบ เสียแค่ว่า Port SATA น้อยไปหน่อยมี 4 Port ทำให้หากจะใส่ Disk x 4 ลูกต้องสละ DVD เพราะสาย SATA บน Mainboard หมด
ภายในตัวเครื่อง ภาค 2
มีแรมให้ 4 Port สำหรับการระบายความร้อน CPU นั้นก็จัดเต็มทั้ง Heatsink ทั้งพัดลม ส่วนพัดลมด้านหลังก็เอาไว้ดูดความร้อนภายในออกไปข้างนอก นั้นเอง
ภายในตัวเครื่อง ภาค 3
PCI มีมาให้ทั้งหมด 4 Port ทั้ง PCI ธรรมดา และ PCI-X มาแบบครบหมด x1 x4 x16 อยากจะใส่การ์ดจอก็ตามสบายใจได้เลย
ฝาเครื่อง
Style เครื่องแบรนด์ มีฝาที่บอกทุกสิ่งจริงๆ ไม่ว่าจะส่วนประกอบ mainboard รวมไปถึงการใส่โน่นนี่นั้น ครบ ทั้ง memory ว่าใส่แบบ single channel , dual channel ทำอย่างไร เรียกได้ว่าสอนรื้อเครื่อง สอนแม้กระทั้งปุ่ม clear bios password
Remote Management
จุดนี้ยังไม่ได้ทดสอบ แต่เท่าที่อ่าน Spec ก็มี AMT 9.0 คือ ตัว Remote Managment ของ Intel นั้นเอง ไม่ใช่ iDRAC เหมือนรุ่นพี่เขา แต่ก็เหมือนคนอื่นคู่แข่งก็ทำแบบเดียวกัน คือ Lenovo ThinkServer , HPE ProLiant ML10 Gen9 ก็ใช้ chip ตัวเดียวกันคือ AMT นั้นเอง ไว้วันไหนได้ลอง AMT ทุกยี่ห้อแล้วจะมา share ให้ฟัง
บทสรุปของ Server
เป็น Server รุ่นเล็กตัวน้อย บอกหมดล่ะว่าใช้ทำอะไร ถ้าในตลาด IDC ของไทย ก็ถือว่าเป็นผู้นำตลาดด้วยยอดขาย Unit มากสุดสำหรับ Tower 1P ของ DELL ครบถ้วนไม่ว่าจะ Port และอื่นๆ แต่ก็อย่าไปคาดหวังอะไรมาก เพราะมันไม่ใช่ตัวท็อปอะไร ก็แทนที่จะใช้ PC ก็ใช้ Server ตัวล่างราคาเบาๆ เปิด 24 ชมได้ สำหรับฟีเจอร์ Server ก็ครบไม่ว่าจะการทำ RAID ต่างๆนาๆ จะเสียก็คือ มันเป็น Internal Disk มันจะบอกไม่ได้ว่า Disk เสียเหมือนรุ่นที่เป็น Hotplug Disk ดังนั้นหากจะเสียก็คงต้อง Remote Management ไปดู Status สังเกตุไฟส้มหน้าเครื่อง Reboot เครื่องเป็นต้น