รีวิว DELL PowerEdge T30
สำหรับตลาด Server ตัวเล็กนั้น ถือว่าสูงสุดถ้านับ Unit Server นะครับ เพราะถือว่าในตลาดบ้านเรา SME ค่อนข้างมาก ดังนั้นการใช้ Server Tower ตัวเล็กสำหรับทำงานเล็กๆ เบาๆนั้นเยอะ ไม่ว่าจะ Active Directory (AD) , File Server ก็แข่งกับพวก NAS และก็พวก Load balance พวกนี้ก็ทำกันเยอะใช้ Software เฉพาะบน Linux บ้าง ถูกบ้างแพงบ้าง แล้วก็ทีเห็นๆก็ทำ Server บัญชี สำหรับ SME และก็มี Web Server ภายในองค์กรก็มี ส่วนใหญ๋ก็จะมาจากการใช้ PC มาก่อน ธุรกิจเริ่มเติบโต หรือ แทนเครื่องเดิมบ้าง ที่ใช้มากันแบบ 5-8 ปี เท่าที่เจอ ถือว่าใช้มายาวนานมาก
สิ่งที่ให้มาในกล่อง
เปิดกล่องมาก็ โล่งเช่นเคย มีเพียงสายไฟให้ 1 เส้นและ Document แบบคงไม่ได้ใช้ทำอะไร Driver แผ่นไม่ได้มีมาให้ ส่วนใหญ่จะใช้การลงตรง แล้ว Download Driver เอา ส่วน Keyboard / Mouse ก็ตามภาพ ไม่มีครับต้องหาซื้อเอานะ เนื่องจากเป็น Model เล็ก รุ่นล่าง จะเน้นราคาถูกเป็นหลัก
ภายนอกด้านหน้าตัวเครื่อง
หน้าตาก็ถอด T20 มา ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิม สิ่งที่เพิ่มด้านหน้าก็คงเป็น USB 3.0 ที่มามาให้ 2 Port (เดิม USB 2.0 ทั้งหมด) ช่องทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม 100% สำหรับด้านหน้าครับ ส่วนใหญ่ด้านหน้าก็เอาไว้เสียบพวก keyboard / mouse หรือพวก External Disk ต่างๆ ก็เผื่อเราจะทำ Backup แบบง่ายๆลง External Disk USB 3.0 ก็ถือว่าเร็วเลยทีเดียว
ภายนอกด้านหลังตัวเครื่อง
ด้านหลังเครื่องก็มี 1 Power Supply ด้านบนแบบ Fix ต่อมายังคงอนุรักษ์นิยม PS2 ยังคงมีอยู่ รวมไปถึง USB 2.0 x 2 และ LAN RJ45 จำนวน 1 Port นั้นเอง ไล่ลงมาก็จะเจอ Display Port x 2 เลยทีเดียว และยังมี HDMI มาอีก 1 แม้ ก่ะให้ต่อ 3 จอกันเลย เพราะใน Spec CPU แล้วมี GPU ติดมาด้วยซึ่งทำให้ออกความละเอียดระดับ 4K ได้ก็จัดกันไป แต่สิ่งที่ยากสำหรับคนใช้ Server คือ VGA นั้นหายไป แทนที่ด้วย HDMI แทน งานนี้คงได้มีการ Config Server ผ่าน TV กันบ้างล่ะ งานนี้
ภายในตัวเครื่อง
ภายในก็ให้มาค่อนข้างครบ ไม่ว่าจะ Tray Disk ทั้งหมด 4 ลูก รวมไปถึง SATA Port ด้วยที่มี 4 เช่นกัน ดังนั้นหากจะใส่เต็ม 4 ลูกก็ต้องสละชีวิต DVD ออกไป ส่วนสาย SATA สายไฟให้มาครบมากๆ ไม่ต้องไปกังวลซื้อ Disk แล้วกลัวไม่มีสาย SATA กันเลย ในคู่มือ board มีส่วนของการใส่ Disk 2.5 นิ้วด้วย ซึ่งก็แทนที่ตำแหน่ง DVD เดิมนั้นเอง
ภายในตัวเครื่อง ภาค 2
Memory มีมาให้ 4 แถว สวยงาม ก็ใส่ได้เต็มที่ 64GB แตกต่างจาก T20 ที่รองรับเพียง 32GB คงด้วย Chipset CPU ด้วยที่ทำให้รองรับได้มากขึ้น ก็จะใส่ประมาณ 16GB x 4 อะไรอารมย์นั้น กลายเป็น Server ตัวใหญ่โดยปริยาย
ภายในตัวเครื่อง ภาค 3
PCI มีมาให้ 4 Port เช่นเคยกับมีทั้ง PCI ปรกติขาวๆ ที่เริ่มหายากบน Server ทุกที และ PCIe x4 3.0 และ PCIe x16 3.0 แบบ x4 Speed กับแบบใส่การ์ดจอที่คุ้นๆเคยๆกัน ใกล้ๆนั้น แอบเห็น slot SSD M2 แต่โล่งใส่ไม่ได้ มีแต่ข้อความ 5555
ฝาเครื่อง
Style เครื่องแบรนด์ มีฝาที่บอกทุกสิ่งจริงๆ ไม่ว่าจะส่วนประกอบ mainboard รวมไปถึงการใส่โน่นนี่นั้น ครบ ทั้ง memory ว่าใส่แบบ single channel , dual channel ทำอย่างไร เรียกได้ว่าสอนรื้อเครื่อง สอนแม้กระทั้งปุ่ม clear bios password
Remote Management
ตัวนี้จาก Datasheet คือ Intel AMT 11.0 แล้วจากเดิม 9.0 ก็ใช้สำหรับ Remote Management ที่ส่วนใหญ่รุ่นเล็กๆเราจะไม่ค่อยได้ใช้กัน และไม่ค่อยได้มีมาให้
OS Support
ถูกถามกันมาเยอะ ใน Style ต่างล่างที่คนใช้ Server ใหม่ๆมักจะคุ้นเคยกับ Windows Client (7,8,10) ว่ารองรับไหม ก็ต้องบอกว่า List ด้านล่างเป็นตัวบอกว่าเขา Certified ตัวไหนบ้าง ส่วน DELL ก็ชัดเจน เขาไม่ Service & Support ให้สำหรับ OS นอกเหนือจากนี้ ส่วนในมุม Technical มันก็คงลงได้ประเด็นเดียวคงเป็นประเด็นของ RAID มากกว่า บางคนก็ชอบซื้อไปแปลงร่างเป็น Workstation ใส่การ์ดจอ ก็ระวังเรื่อง Support หน่อยก็เท่านั้นเอง
บทสรุปของ Server
เป็น Server ตัวเล็ก ที่น่าเล่น สำหรับ SME ไม่ว่าจะรันระบบบัญชี ระบบ AD , File Share , หรือ งานที่คนใช้งานระดับไม่เกิน 15 ได้ใน Performance ที่ค่อนข้างดีอยู่ ส่วนมากกว่า ก็เติม Ram เติม Disk และดูประสิทธิภาพ CPU ประกอบ เพียงแต่มันไม่มีระบบป้องกันเช่น ไม่ใช่ HotPlug Disk มองไม่เห็นเวลา Disk เสีย แล้วมี 1 Power Supply ถ้า Step ขึ้นไปจากนี้แบบ Hotplug ก็จะเป็น T330 ส่วน T130 ก็เป็น Model เล็กสุดที่ DELL ผลิตเอง ส่วน T30 ก็เหมือนกับยี่ห้ออื่นคู่แข่ง พวก HPE ML10 หรือ Lenovo TS150 ที่ก็ต่างคนต่างจ้าง Intel ผลิตเหมือนกันหมด มาแบบคล้ายๆกัน ต่าง spec กันเล็กๆน้อยๆว่ากันไป คิดว่ามันจะยังคงเป็น Model ขายดีตลอด 2017-2018 ต่อไป ด้วย Support ที่ strong ของ DELL ซึ่งตัวนี้ T30 ปีนี้ก็มาแบบ 3 ปี Onsite Service ถึง Office ทั่วประเทศ ในวันทำการถัดไป