รีวิว HPE ProLiant DL380 Gen9
สิ่งที่ให้มาในกล่อง
กล่องภายนอกปีนี้เป็นปีที่เปลี่ยนไป เพราะแต่ก่อนเป็น HP ก็ว่องไวมากได้เปลี่ยนเป็น HPE เรียบร้อยตั้งแต่กล่อง ยันตัวเครื่อง คนที่ซื้อไปปีที่แล้วก็ยังคงเป็น logo HP อยู่ปีนี้ได้ HPE ไปล่ะ เปิดกล่องมาสิ่งที่เห็นก็คือ ราง Slide และตัวขายึดรางที่เรียกว่า Cable Arm ตัวนี้เอาไว้ร้อยสายต่างๆด้านหลังเครื่อง เวลาเรา Slide เครื่องออกมาก็จะได้ไม่มีปัญหาปลั๊กหลุด LAN หลุดแต่ส่วนตัวปรกติไม่ได้ใช้เพราะรู้สึกว่าบัง flow ลมร้อนที่จะต้องออกทางด้านหลัง แต่ก็สะดวกสบายดีหากกลัวเกิดความผิดพลาดไม่ทันดูด้านหลังตู้ว่าเสียบสายอะไรอยู่บ้าง มีความยาวเพียงพอไหม และก็มีสายไฟแบบ PDU มาให้ สำหรับเสียบต่อกับ UPS เป็นหัว C13/C14 ส่วนฝาหน้ากากเครื่องจะเป็นกล่องแยกออกมา สำหรับความสวยงามของเครื่อง รวมไปถึงการดักฝุ่นด้วย
ภายนอกด้านหน้าตัวเครื่อง
ด้านหน้าตัวเครื่องก็ไม่มีอะไรครับ โล่งๆ เหตุเพราะตัวนี้เราแกะกล่องมายังไม่มี Disk มาให้จะเป็นตัวแยก Disk ออกมาต่างหาก และด้านขวาก็มี HPE Logo มาล่ะ แล้วก็มุมบนด้านขวาเป็นปุ่มเปิด รวมไปถึง Status ต่างๆของไฟไม่ว่าจะแจ้งเตือนเครื่องเสียง แจ้งเตือน Status ต่างๆอยู่บนตัวเดียว มี UID เอาไว้เวลาจะ M/A ด้านหลังก็กดด้านหน้าจะได้ทราบว่าเครื่องไหน กรณีเครื่องเยอะๆ เรียกต่อๆกัน รวมไปถึงช่องเครื่องเหมือนตกใจนั้นก็ไม่มีอะไร ดึงมาก็จะเป็นส่วนของ Serial Number เวลาใช้เคลมนั้นเอง และมี USB 3.0 ให้ 1 Port สิ่งที่สำคัญคือ การ Design เครืองนี้ทำไว้เพื่อให้ใส่ Disk ได้มากๆ สูงสุดถึง 24 ลูกเลยทีเดียว ทำให้เราก็จะไม่มี Internal DVD ซึ่งปรกติแล้วก็ใช้แค่ติดตั้งครั้งแรก ทำให้เลยดูโล่ง แต่ Standard ทำมารองรับ 8 ลูก ส่วนอีก 2 ช่องที่เหลือก็สามารถเติม Backplain Option สำหรับ 8 ลูก x 2 ได้สบายๆ
ภายนอกด้านหลังตัวเครื่อง
มาดูด้านหลังเครื่องเริ่มจากด้านขวาก็จะเจอ Power supply 500 watt 1 ตัวและว่างอีก 1 ช่องเอาไว้สำหรับเติมเพื่อรองรับ 2 Power Supply ส่วนด้านบนของ Power Supply 2 จะเป็น Option สำหรับคนที่ต้องการเพิ่ม Serial Port ถัดต่อมาเป็น LAN 4 Port รวมไปถึง iLO อีก 1 Port สำหรับ iLO นั้นเชียร์ให้ใช้เลยเพราะไว้สำหรับแจ้ง Status ต่างๆของระบบ รวมไปถึงการ Remote Management ไม่ว่าจะ Reboot เครื่องรวมไปถึง KVM สำหรับ iLO Advance ที่เพียงซื้อ key เพิ่มมา Activate เท่านั้นก็ได้ใช้ฟีเจอร์แบบจัดเต็มนั้นเอง และก็มี USB 3.0 มาให้อีก 2 Port ด้านหลัง แอบ USB น้อยไปนิดนึง มันสำหรับ Keyboard , Mouse จริงๆ
ฝาเครื่อง
ฝาเครื่องก็ตาม Style เครื่องแบรนด์ หรูหราอลังการ มีทั้งคู่มือ Mainboard เพื่อบอกตำแหน่งแต่ละตัว หากเราดูใน board แล้วไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ก็มาดูที่ฝานี่แหละ บอกทุกสิ่ง รวมไปถึงบอกถึงการ Config Memory รวมไปถึง Status ไฟต่างๆ ของเครื่อง รวมไปถึงของ Disk ด้วย ก็ต้องลองศึกษาดูนะครับ
ภายในตัวเครื่อง ภาพรวม
ภายในเป็นอะไรที่ดู Clean ตา วัสดุระดับ Premium ไม่ว่าจะฝาครอบสำหรับดักลมที่เป็นพลากติกแข็ง เปิดง่าย สิ่งที่โดดเด่นอยู่ตรงกลางก็คือ Card RAID จะเห็นสาย SAS ที่วิ่งจาก backplain เข้า Card RAID ที่สาย Premium มากๆ สีฟ้าสวยงาม และก็จะเห็น Chip iLO อยู่ทำให้มั่นใจว่ามี iLO แน่นอน
ภายในตัวเครื่อง Backplain และ Battery
พอเรามาไล่ดูจากด้านหน้า เราจะพบแท่งๆนึงอยู่ด้านหลัง backplain ตรงกลาง นั้นคือ Battery Backup Cache ทำหน้าที่สำรองไฟให้กับ Cache ขณะไฟดับ เวลาเรา Submit งานเข้าระบบขณะที่ Data กำลังวิ่งเข้า Disk เกิดไฟดับ ก็จะไม่พลาด Data ที่วิ่งเข้าไป สวยงามไม่เคยเห็น Battery ดู Hiso ขนาดนี้มาก่อน
ภายในตัวเครื่อง ชุดพัดลม
ถัดมาก็จะเจอชุดพัดลม แล้วมีโหว่อยู่ 2 อัน ก็จะมาพร้อม CPU ตัวที่ 2 เวลาเราซื้อเพิ่มสำหรับทำความเย็นให้ CPU ที่สองรวมถึงแรมด้วย แต่ตอนแรกดูผิวๆก็คิดว่าเป็นแผงธรรมดา ก็เลยเกิดอาการซนขึ้นแอบเห็นคันโยกสีฟ้าๆ ตาม concept อะไรฝากๆแสดงว่าดึงได้ ก็ดึงออก เลย Wow ว่าชุดพัดลมนั้นดึงออกมา M/A ได้ง่ายมาก รวมไปถึงใช้สำหรับการติดตั้ง Backplain Upgrade ด้วยเพราะต้องเสียบสายไฟให้กับ Backplain มีฟองน้ำลองแบบไม่ให้วัสดุเสียดสีกับ mainboard ก็ถือว่าทำได้ดีทีเดียว เพราะอย่างบางยี่ห้อ หากตัวนี้ดึงออกแล้วสวมไปไม่แน่น เครื่องจะเปิดไม่ติดและจะดับเอง แต่ตัวนี้มีก้าน lock อย่างดีทำให้เรามั่นใจว่ามันแน่นแน่นอน พอเราเปิดแผงพัดลมเราจะเห็นว่ามีการเชื่อมต่อระหว่าง mainboard กับ backplain เพื่อจ่ายไฟให้กบ backplain และมีต่อสายไฟให้กับ battery backup cache ด้วยเช่นกัน
ภายในตัวเครื่อง ฝากครอบ CPU Ram
ถ้าเราเห็นฝาครอบดักลม ก็จะเจอบนฝาครอบมีบอกตำแหน่ง แรมด้วยว่า Slot ที่เท่าไร ก็ทำให้สังเกตุได้ง่าย ภายใต้มันเต็มไปด้วยแผง Memory สุดอลังการ เยอะมาก แต่ก็เยอะเหมือนกันทุกยี่ห้ออ่ะนะ แต่ที่ชอบคือ heatsink ที่ดูดีแท้ จับๆดูเป็นแบบแข็งด้วยไม่อ่อน
ภายในตัวเครื่อง Dual USB + 1 MicroSD
ตัวนี้ออกแนว Full Redundant มาก เพราะเป็นการทำ RAID 1 ระหว่าง MicroSD และ USB 3.0 สำหรับ VMware ESXi ใน Config เรียกกันว่าเป็น RAID-1 เลย โดยหน้าตาเหมือน ThumbDrive 8G และที่ก้นมี MicroSD Card เพื่อให้ดึงมาเสียบช่อง MicroSD ถือว่า Option พิเศษมาก รูปภาพประกอบอยู่ด้านล่างครับ
ภายในตัวเครื่อง RAID Controller
เราจะเห็น RAID Controller ที่เป็นรุ่นใหม่ ที่จะไม่ใช่แบบ PCIE-x16 มาเสียบ จะเห็นเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมอยู่กลาง Mainboard รับสาย SAS จาก backplain เข้าสู่ตัวนั้น และเราก็จะเห็นแบบเดียวกันอีก 2 Port บนกลาง Mainboard ก็เอาไว้ต่อตรง เผื่อใครอยากจะได้ความเร็วแบบต่อตรงเข้า mainboard ไม่ต้องผ่าน Controller ก็ทำได้เช่นกัน สำหรับการต่อพ่วง Disk อีกสองชุดนั้นจะทำได้ด้วยการเพิ่ม Card RAID เพื่อแยก I/O สำหรับงาน Virtualization หรือว่าจะใช้การ์ดพิเศษ ที่จะต่อเข้ากับ backplain แล้วต่อเชื่อมไปยัง Card อีกตัวเพื่อให้สามารถทำ Group RAID เดียวกันได้
ภายในตัวเครื่อง PCI Riser
ตัวเครื่องมี Riser มาให้ 1 ชุดแล้วเพิ่มได้อีก 1 ชุด มี Slot PCI มาให้เป็น PCI-E Gen3 x8 จำนวน 3 Port
บทสรุปของ Server
ตัวนี้เรียกได้ว่าตัวท๊อปสุดสำหรับรุ่น 2CPU สำหรับ HPE ProLiant Family เรียกได้ว่ามีอะไร HPE ก็จัดเต็มมากับรุ่นนี้จริงๆ ก็เหมาะกับทุกงาน รวมไปถึง Database Server , ERP Server , Exchange Server จะอะไรก็รองรับได้หมด ประกอบกับงาน Virtualization ด้วยเช่นกัน ยิ่งกระแส SDS กำลังมาแรง HPE ก็เลยจัดเต็มการใส่ disk ระดับ 24 ลูกมาให้บน Rack 2U ทำให้หากจะนำมาใช้แปลงร่าง Server เป็น Storage ก็ทำได้แบบสบายๆ ข้อเสียของตัวนี้เท่าที่เห็นก็คือ มันไม่มี Status บอกอุปกรณ์เสียแบบละเอียดว่าอะไรกันแน่ที่เสีย เวลาเกิดไฟแดงขึ้นที่หน้าเครื่อง ซึ่งมันกลายเป็นชุด Option ไปเสียแล้วมาแทนที่ชุด Backplain 8 ลูกชุดแรก ก็จะเสียไปแล้วเพิ่มได้ทั้งหมด 16 ลูกแทน 24 ลูก แต่ชุดนั้นก็จะเป็นพวก DVD Rom ด้วย แต่คิดว่าบางทีมันก็ไม่รู้จะแจ้งว่าอะไรเสียดี เพราะตัว Disk เองก็มีบอกที่หน้า Disk เอง Power Supply ก็มีไฟบอกทางด้านหลัง ที่เหลือปรกติก็มีพวก CPU ก็ไม่ค่อยจะเสียกันสักเท่่าไร แล้วก็มีพัดลมนี่แหละ แต่ถ้ามีแผงไฟ Status บอกเหมือน Gen8 ก็จะทำให้ไม่สามารถใส่ disk ได้เยอะขนาดนี้ แล้วเดี๋ยวนี้ก็ Status ต่างๆก็มักจะดูใน iLO กันหมดล่ะไม่ว่ารุ่นอะไร ก็กลายเป็น 1 Option ที่จะหายไปเรื่อยๆ ยี่ห้ออื่นก็ตัดๆเป็น Option กันไปเรื่อยๆเพราะใช้กันบน Remote Management ซะส่วนใหญ่ ก็ได้อย่างเสียอย่างกันไป นอกนั้นก็แทบไม่เห็นจุดเสียของรุ่นนี้เลย ทุกอย่างยอดเยี่ยมแท้ สมกับเป็นรุ่นท๊อป เบอร์ตองจริงๆ
ดูราคา HPE ProLiant DL380 Gen9