Storage คืออะไรมีกี่ประเภท
Storage ก็คือ ข้อมูลของเรานั้นแหละแต่ประเภทของ Storage แล้วรูปแบบการเก็บมากกว่า ที่คืออะไร แล้วเราจะเก็บแบบไหน เก็บได้กี่ประเภท ผมเลยขอจำแนกประเภทของ Storage ตามแบบฉบับของตัวเองดังนี้
- Storage Share กันเอง เริ่มต้นธุรกิจ : โดยปรกติแล้วเมื่อองค์กรเริ่มก่อร่าง ส่วนใหญ่ทุกองค์กรก็มักจะเอา PC นั้นแหละมาทำ Share Storage ให้กับเครื่องอื่นได้ใช้ เรียกได้ว่ายุคเริ่มต้นประหยัดสุด
- Storage กลาง เริ่มเติบโต : พอองค์กรเริ่มโตขึ้น หากเอา Data ไปไว้เครื่องใดเครื่องหนึ่งเริ่มรู้สึกถึงความเสี่ยง ก็เริ่มทำ Storage กลางสำหรับทำ Share บางคนก็ใช้ NAS ทั่วไป บางคนก็เอา Server มาทำ File Share มากขึ้น
- Tape Storage : เป็นสิ่งที่หลายๆคนอาจจะคิดว่าล้าสมัย สมัยนี้ใครเขาใช้ Tape กัน ก็ต้องบอกว่า Tape เป็นสิ่งดูล้าสมัยจริงด้วยความช้า แต่ก็มีข้อดีมากมายที่ Disk Storage นั้นทดแทนไม่ได้เลย นั้นคือ ความคงทน คงไม่มีใครกล้าบอกว่า Disk เราจะรันไปได้ 10 ปี 20 ปี เรียกว่า 3 ปีก็เก่งล่ะสำหรับ Disk แต่สำหรับ Tape นั้นนั้นแหละคือตัวเลขอายุของเขา Tape มีความปลอดภัย เพราะมันไม่ได้จะไปเสียบที่ไหนแล้วก็เห็นข้อมูล และ Tape ก็มีราคาถูกที่สุด ในราคาต่อ GB เรียกได้ว่า Tape อยู่ยง คงกระพันมากไม่ว่ายุคไหนๆ ขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในราคาที่ต่ำลง บางคนก็จะถามว่าแล้ว Tape เหมาะกับงานประเภทไหน ก็ต้องบอกว่าเหมาะกับงานที่ไม่ค่อยได้ใช้ Data ต้องเก็บไว้ แต่ไม่ค่อยได้ใช้เช่น ข้อมูลทางบัญชี, Media ต่างๆที่เราอยากเก็บไว้แต่ไม่ค่อยเรียกมาดู
- Server แปลงร่างเป็น Storage : พอใหญ่ขึ้น หรือรวมไปถึง Technology Virtualization เริ่มมา การทำ Share จาก NAS หรือทำ Share จาก File Server ก็ตอบสนอง Virtualization ไม่ได้ เลยกลายเป็นยุคแห่งการแปลงร่าง Server เป็น Storage เรียกว่า Software Defined-Storage ก็มีหลายๆตัวที่ทำได้ ตั้งแต่ Opensource FreeNAS รวมไปถึงการ
- Storage traditional : แม้ Software Defined-Storage เริ่มมากลื่นกิน Storage มากขึ้นเพราะ Server นั้นถูกลง แต่ Storage นั้นแพงเหลือเกิน ราคาต่อหน่วยของ Disk Storage นั้นแพงกว่า Server มาก แต่ต้องเรียกว่า Storage ก็มีพัฒนาการในฟีเจอร์ไปไกลมาก และบางทีเราก็ไม่ได้ต้องการ Compute ที่มากขึ้น แต่ต้องการพื้นที่ทีมากขึ้น ดังนั้นมันก็ไม่แน่เสมอไปที่ Server แปลงร่างนั้นจะถูกกว่า Storage เพราะมันต้องประกอบไปด้วยทั้ง CPU Ram ขณะที่การขยาย Storage อาจจะใช้เพียงแค่ Extension ก็ได้ และมีหลายๆฟีเจอร์ที่ SDS ทำไม่ได้
- Flash Storage : เป็นเทรนที่กำลังมาแรงในตอนนี้มากๆ คือการเอา SSD มาทำ Storage แต่มันไม่ใช่ SSD ที่เราใช้ในตลาด มันเป็นการ์ด เป็น Chip ที่เสมือนแผง Memory และมี CPU ในตัวในการประมวลผลการทำงาน อย่างที่เราทราบดี SSD มีอายุในการ read/write การมี CPU มาช่วยประมวลผลก็เพื่อหาช่องทางที่ดีที่สุดในการเขียนลง Chip ที่ทำงานน้อยสุด SSD ที่เราใช้บนคอมนั้นต่างกัน พวกนั้นเราแทบจะไม่ได้เขียน Data มันลงไป แต่สำหรับ Storage แล้วมีการเขียน/อ่านตลอดเวลา การประมวลด้าน Analysis นั้นสำคัญและต้องการ Storage ที่มีประสิทธิภาพสูง Flash Storage จึงเป็นคำตอบ จึงเห็นหลายค่ายออก Flash Storage กันมาก แทน Disk Storage เดิมเพราะหลายคนเอา SDS มาทำ Storage แทนแล้วนั้นเอง
- Cloud Storage : การสู่ยุคใหม่ ที่ใช้กันมากขึ้นคือ Cloud Storage สำหรับบุคคลก็คงใช้กันปรกติอยู่แล้วคือพวก iCloud , OneDrive ,Dropbox ,Google Drive เยอะแยะไปหมดทุกวันนี้ และก็มีสิ่งที่องค์กรจะไปประยุกษ์ใช้งานได้ก็คือ การ Backup Server เราลง Cloud ก็ทำได้แล้ว โยนไปทั้ง Virtualization ไปกองไว้ที่ Cloud เลยค่าบริการคิดตาม GB ที่ใช้งานเลย ค่า Transfer ไปนั้นไม่แพง แต่หากต้องการ Restore กลับมานี่แหละ ก็ไม่ถูกเท่าไร และ Windows Server 2016 ที่เปิดตัวมานั้น ก็เริิ่มรองรับ Cloud มากขึ้นเช่นกัน
โดยข้อสรุปในการเลือกใช้ Storage นั้น ก็เลือกให้ถูกประเภท ให้เหมาะกับเรา สิ่งทีเราจะต้องคำนึงถึงในการใช้งานคือ เราไปใช้งานประเภทไหน เราไปทำ File Share ก็มี Solution สำหรับมัน เราไปทำงาน Virtualization ก็มีงานสำหรับเขา เราไปทำงาน Application Report ที่ต้องการ IOPs มากๆ ก็มี Flash Storage มาตอบสนองความต้องการของเรา ก็เลือกให้ดี เลือกให้เหมาะกับงานของเรา ก็จะทำให้การวางแผนการใช้งาน Storage ของเรานั้นจะช่วยทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้มากขึ้น